การศึกษาในศตวรรษที่
21
ครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอน (pedagogy) โดยครูจะต้องทำให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
และมีเป้าหมายในการสอนที่จะทำให้เด็กมีทักษะชีวิต ทักษะการคิด
และทักษะด้านไอที ซึ่งไอทีในที่นี้ไม่ได้หมายถึง
ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือใช้ไอแพดเป็น แต่หมายถึงการที่เด็กรู้ว่า
เมื่อเขาอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเขาจะไปตามหาข้อมูล (data) เหล่านั้นได้ที่ไหน
และเมื่อได้ข้อมูลมาเด็กต้องวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (knowledge) ได้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝน
ครูจะต้องให้เด็กได้มีโอกาสทดลองด้วยตนเอง
ศตวรรษที่
21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา
ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
- ความรับผิดชอบในหน้าที่ และความสามารถในการปรับตัว
(ความสามารถในการดัดแปลงให้เหมาะสมได้)
(Accountability and adaptability)
– การฝึกความรับผิดชอบส่วนตัวและความยืดหยุ่นในบริบทส่วนตัว ที่ทำงาน และชุมชน; กำหนดและบรรลุตามมาตรฐานและเป้าหมายที่สูงสำหรับตนเองและผู้อื่น อดทนต่อสภาวะที่คลุมเครือ - ทักษะการสื่อสาร (communication skills)
– ความเข้าใจ การจัดการ และการสร้างการสื่อสารทางการพูด การเขียนที่มีประสิทธิภาพ และผ่านทางมัลติมีเดีย ในรูปแบบและบริบทที่หลากหลาย - ความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้น (ความอยากรู้อยากเห็น) ทางปัญญา (Creativity and Intellectual curiosity)
– การพัฒนา การนำไปใช้และการสื่อสารข้อคิดเห็นไปสู่ผู้อื่น เปิดรับและโต้ตอบแง่มุมที่ใหม่และหลากหลาย - การคิดเชิงวิพากษ์และการคิดอย่างเป็นระบบ (Critical thinking and systems thinking)
– ฝึกการให้เหตุผลในการทำความเข้าใจและการสร้างทางเลือกที่ซับซ้อน: การเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่าง ๆ - ข้อมูลและทักษะการอ่านเขียนสื่อ (Information and Media Literacy skills)
– การวิเคราะห์ การเข้าถึง การจัดการ การบูรณาการ การประเมินและการจัดทำข้อมูลในรูปแบบและสื่อที่หลากหลาย - ทักษะระหว่างบุคคลและการร่วมมือประสานกัน (Interpersonal and Collaborative skills)
– รู้จักการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ; การปรับตัวในบทบาทและความรับผิดชอบที่แตกต่าง; การทำงานอย่างมีผลิตภาพ (productivity) กับผู้อื่น; การเห็นอกเห็นใจ: การเคารพในมุมมองที่แตกต่างกัน - การระบุปัญหา การกำหนดและการแก้ปัญหา (Problem Identification, Formulation and solution)
– ความสามารถในการกำหนดขอบข่ายของปัญหา วิเคราะห์และแก้ปัญหา - การกำกับตนเอง (Self-direction) –
กำกับดูแลความเข้าใจของตนเองและเรียนรู้ความต้องการ ระบุแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม
การถ่ายโอนสิ่งที่เรียนรู้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
- ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility)
– ใส่ใจต่อชุมชนขนาดใหญ่อย่างมีความรับผิดชอบ;ตระหนักในพฤติกรรมทางเชื้อชาติในบริบทของชุมชน ที่ทำงานและรายบุคคล
ความคิดสร้างสรรค์, นวัตกรรม และการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ กำลังเป็นที่กล่าวถึงและเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นในสังคมโลกปัจจุบันของเรา
ตลาดงานของโลกในศตวรรษที่ 21 ผู้ประกอบการ มีความต้องการพนักงานที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อช่วยให้บรรลุเป้า
หมายของธุรกิจ และสังคมได้สถาบันการศึกษาในฐานะที่เป็นองค์กรที่ผลิตบัณฑิตออกไปสู่ตลาดงาน
นอกจากจะผลิตนิสิต นักศึกษา ให้มี “ความรู้” เพียงอย่างเดียว “คงไม่เพียงพอ” อย่างแน่นอน การจัดการศึกษาต้องผลิตบัณฑิตให้มีความรู้
ควบคู่ไปกับการพัฒนา “ทักษะ” ด้วย
ทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ การทำงาน ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็น
คือ
1) การคิดวิเคราะห์ (Critical
Thinking)
2) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
3) การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
4) ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (Cross-cultural understanding)
5) ความสามารถด้านการสื่อสาร (Communication)
6) ความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technology)
7) ความสามารถในการกำหนดเป้าหมายของตนเอง (Self-direction)
2) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
3) การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
4) ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (Cross-cultural understanding)
5) ความสามารถด้านการสื่อสาร (Communication)
6) ความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technology)
7) ความสามารถในการกำหนดเป้าหมายของตนเอง (Self-direction)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น